ออกกำลังกาย

คลาสออกกำลังกาย hp2max

คลาสออกกำลังกาย สุดฮิตที่สมาชิกต้องรู้จัก

คลาสออกกำลังกาย ในฟิตเนสหรือบางท่านอาจจะเรียกว่าการออกกำลังกายแบบกลุ่มก็ได้ และปัจจุบันนั้นคลาสออกกำลังกายต่างๆในแต่ละฟิตเนสก็มีมากมายไว้ให้ทุกท่านได้เลือกใช้บริการ และปัญหาก็จะเกิดขึ้นที่ว่าไปออกกำลังกายคนเดียวบางท่านก็ไม่กล้าพูดคุยหรือสอบถามคนอื่นว่าคลาสต่างๆที่เห็นตามรายชื่อในสตูดิโอนั้นคืออะไรบ้างแล้วเล่นยังไง ดังนั้นทางทีมงาน HP2MAX จึงได้รวบรวมข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับคลาสการออกกำลังกาย เป็น 3 หัวข้อหลักๆดังต่อไปนี้ Les mills Zumba Instructor Network : ZIN Freestyle คลาสออกกำลังกาย จากบริษัท Les mills  Les mills คือบริษัทที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับการออกกำลังกายในรูปแบบต่างๆและอื่นๆที่เกี่ยวกับวงการการออกกำลังกาย รวมถึงเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์คลาสออกกำลังกายต่างๆที่หลายๆท่านอาจจะคุ้นตาคุ้นชื่อกันเป็นอย่างดี และคลาสออกกำลังกายจาก Les mills นี้ก็เป็นที่นิยมเป็นอย่างยิ่ง คลาสที่ได้รับความนิยมมีดังต่อไปนี้ BODY COMBAT : BC เป็นคลาสที่นำเอาศิลปะการต่อสู้ในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น มวยไทย คาราเต้ ไทซิ MMA และอื่นๆมาปรับใช้กับการออกกำลังกายโดยมีเสียงเพลงเป็นตัวให้จังหวะ คลาสนี้เล่นง่าย จังหวะไม่ยาก ท่าทางมีไม่มาก เผาผลาญพลังงานได้สูง สนุก ไปแค่ตัวเปล่าก็เข้าคลาสไปเลย BODY PUMP : BP เป็นคลาสที่ เล่นเวท ไปกับเสียงเพลง …

คลาสออกกำลังกาย สุดฮิตที่สมาชิกต้องรู้จัก Read More »

คนอ้วน hp2max

6 สิ่งที่ต้องรู้ คนอ้วน เริ่มออกกำลังกาย

คนอ้วน จริงๆสามารถออกกำลังกายได้หมดทุกอย่างขึ้นอยู่กับเทคนิคและความแข็งแรงและคำว่า อ้วน นั้นแต่ละคนก็ให้นิยามไม่เหมือนกัน สำหรับการออกกำลังกายของคนอ้วนนั้นขอแบ่งออกเป็น 2 กรณีใหญ่ๆ กรณีแรกคือ นน. ตัวเยอะหนักตั้งเป็นร้อยโลแต่หุ่นโคตรดีฟิตเปรี๊ยะ กรณีที่สองคือน้ำหนักตัวอยู่ที่ค่อนข้างอ้วนถึงอ้วนตาม BMI แต่หุ่นเผละไม่เคยออกกำลังกาย และในบทความนี้จะพูดถึงในกรณีที่สองดังต่อไปนี้และทางทีมงานอยากให้ท่านที่มาอ่านนำความรู้ไปปรับใช้และพัฒนาต่อไป 1. ให้ผู้ที่มีน้ำหนักเกินหรือ คนอ้วน นั้นเช็คสุขภาพของตัวเองก่อน ในข้อนี้สำคัญเป็นอย่างยิ่งไม่ว่าจะออกกำลังกายด้วยตัวเองหรือใช้บริการเทรนเนอร์ ท่านเหล่านี้จะต้องรู้สุขภาพของตัวเองเสียก่อนว่ามีปัญหาเกี่ยวกับข้อต่อ เอ็น หรือโรคประจำตัวอื่นๆด้วยหรือเปล่า เพื่อความปลอดภัยในการฝึกหรือออกกำลังกายและมีโปรแกรมที่เหมาะสม 2.ก่อนออกกำลังกายต้องมีการ วอร์มอัพและคูลดาวน์ การ วอร์มอัพและคูลดาวน์ หลายๆท่านอาจจะมองข้ามและละเลยซึ่งสองอย่างนี้สำคัญมากต่อการออกกำลังกายและการฟื้นฟู การวอร์มอัพถ้าคิดง่ายๆก็คือทำกิจกรรมทางกายเบาๆเพื่อให้อุณภูมิร่างกายสูงขึ้นหรือเป็นการยืดกล้ามแบบมีการเคลื่อนไหว ส่วนการคูลดาวน์ก็คือทำให้ร่างกายนั้นค่อยๆลดการใช้งานลงและยืดกล้ามเนื้อ ประโยชน์ของการ วอร์มอัพ ทำให้ร่างกายใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดอาการบาดเจ็บจากการออกกำลังกาย ฯลฯ ประโยชน์ของการ คูลดาวน์ ทำให้ร่างกายกลับสู่สภาวะปกติ ลดอาการบาดเจ็บจากการฝึกและลดความเสี่ยงต่อการช็อก ทำให้ร่างกายฟื้นตัวได้ง่ายขึ้น ลดการตกค้างจากการเผาผลาญออกซิเจน ฯลฯ 3. การออกกำลังกายในช่วงแรกของ คนอ้วน อย่าออกกำลังที่มีแรงกระแทกสูง หรือคนที่มีอาการบาดเจ็บที่ข้อต่อหรือเส้นเอ็นกิจกรรมที่เป็นแรงกระแทกต่ำก็ควรระวังเช่นกัน เช่น วิ่ง , Jump Squat , High Knee …

6 สิ่งที่ต้องรู้ คนอ้วน เริ่มออกกำลังกาย Read More »

เทรนเนอร์

เทรนเนอร์ | ประโยชน์ | วิธีเลือก

เทรนเนอร์ เป็นผู้เชี่ยวชาญชำนาญเรื่องการออกกำลังกาย ออกแบบโปรแกรม มุมในการเคลื่อนไหวต่างๆที่จะทำให้ท่านที่มาใช้บริการจากเทรนเนอร์ในฟิตเนสนั้นประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่ได้วางเอาไว้ บทความนี้น่าจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งกับท่านที่กำลังคิดและลังเลยว่าจะใช้บริการเทรนเนอร์ดีไหม หรือไม่รู้ว่าเทรนเนอร์ที่จะให้สอนนั้นโอเคกับตัวเองหรือเปล่า ทำไมต้องมี เทรนเนอร์ ส่วนตัวแล้วสำคัญไหม ??? ข้อนี้บอกได้เต็มปากเลยว่า เทรนเนอร์นั้นมีความจำเป็นและสำคัญมากทั้งคนที่พึ่งออกกำลังกายและคนที่ออกกำลังกายมานาน ด้วยครูฝึกนั้นจะเป็นคนคอยแนะนำเทคนิคการเคลื่อนไหวต่างๆในแต่ละท่าเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพมากที่สุด แล้วเทคนิคที่ดีนั้นก็จะส่งผลถึงความปลอดภัยด้วย ถ้าคนที่ออกกำลังกายมานานแต่บางครั้งก็อาจจะหลงทางหรือตันในเรื่องการออกกำลังกายจนร่างกายไม่มีการพัฒนาก็สามารถใช้บริการเทรนเนอร์เพื่อพัฒนาความรู้รวมถึงต่อยอดความรู้ได้ และเทรนเนอร์จะเป็นคนวิเคราะห์เรื่องการออกกำลังกายจากหลายๆปัจจัยไว ทั้งการหายใจ การออกแรง การส่งแรง จังหวะในการฝึก มุมในการเคลื่อนไหว แล้วFeedback กลับมาหาผู้ที่ใช้บริการด้วยหลักการทางวิทยาศาสตร์การกีฬา ประโยชน์ของเทรนเนอร์ เพิ่มความปลอดภัยในการฝึกในรูปแบบต่างๆ ทำให้เห็นผลลัพธ์ได้ง่ายและไวขึ้น ช่วยวิเคราะห์จุดเด่นและสิ่งที่ต้องพัฒนาเพื่อให้ได้ซึ่งเป้าหมายที่ตั้ง เช่น โครงร่าง,สมดุลของร่างกาย,สมรรถภาพทางกาย,มุมการเคลื่อนไหวในแต่ละท่า เป็นต้น ช่วย Feedback เรื่องการออกกำลังกายและท่าทางต่างๆตามหลัก ชีวกลศาสตร์ ผู้ที่ใช้บริการจะได้รับความรู้ที่เหมาะสมกับตัวเอง เป็นเพื่อนที่อยู่เคียงข้างและคอยกระตุ้นให้ทุกท่านก้าวข้ามขีดจำกัดของตัวเอง นี่เป็นเพียงส่วนหนึ่งของประโยชน์ที่ได้รับจากเทรนเนอร์ ทุกท่านที่จะต่อยอดการออกกำลังกายของตัวเองก็ควรที่จะดูความรู้ความเข้าใจจากเทรนเนอร์ให้เยอะๆ เพราะจริงๆแล้วเทคนิคการออกกำลังกายนั้นมีรายละเอียดมากมาย เช่น ความรู้เรื่องกายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยา , ชีวกลศาสตร์ , หลัก FITT , ความรู้ความเข้าใจเรื่อง สมรถถภาพทางกายและทางกลไก และความรู้หลักการอื่นๆอีกมากมาย แล้วจะเลือกเทรนเนอร์ยังไงดี ??? ในข้อนี้ค่อนข้างสำคัญมากเพราะหลายๆคนก็ได้ความรู้ที่ดีและผลลัพธ์ที่น่าพอใจ แต่ก็มีหลายๆคนที่ต้องบาดเจ็บและเสียความรู้สึกจากเทรนเนอร์เพราะว่า ไม่ใช้ครูฝึกที่จบวิทยาศาสตร์การกีฬามาโดยตรงหรืออื่นๆที่เกี่ยวข้องและมีความเข้าใจในการออกกำลังกายที่ไม่มากพอ …

เทรนเนอร์ | ประโยชน์ | วิธีเลือก Read More »

10 ปัจจัย เพิ่มกล้ามเนื้อ และ พัฒนาการของกล้ามเนื้อ

          เพิ่มกล้ามเนื้อ และ พัฒนาการของกล้ามเนื้อ หลายๆท่านอาจจะเจอปัญหาที่ว่าการพัฒนากล้ามเนื้อของตนเองนั้นไปได้ช้าหรือไม่พัฒนาเลยหลังจากออกกำลังกายมาระยะหนึ่ง หรือสำหรับคนที่กำลังจะเริ่มต้นการออกกำลังกายทั้งชายและหญิง บทความนี้น่าจะเป็นประโยชน์ให้กับเพื่อนๆพี่ๆทุกท่านอย่างแน่นอน เพิ่มเติม ผู้หญิงก็พัฒนากล้ามเนื้อได้ ไม่ต้องกลัวว่าหุ่นจะแย่หลังจากที่เล่นเวท แต่กลับกันหุ่นและรูปร่างจะออกมาอย่างมีเสน่ห์พร้อมสุขภาพที่ดีขึ้นอย่างแน่นอน 1. เข้าใจประเภทโครงร่างของตัวเอง           ก่อนที่ทุกท่านจะออกกลำลังกายหรือเริ่มต้นการฝึกในรูปแบบต่างๆตามเป้าหมายที่ตั้งไว้นั้น จะต้องรู้และเข้าใจ ประเภทของร่างกายของตัวเองเสียก่อน (Body Type) ว่าเพื่อนๆอยู่ในคนโครงร่างประเภทไหนจุดเด่นหรือด้อยคืออะไร และจะแก้ไขหรือพัฒนา เพิ่มกล้ามเนื้อ อย่างไรจึงจะเหมาะสม แล้วผลลัพธ์จะออกมาได้ง่ายและไวขึ้น(อ่านเพิ่มเติมเรื่อง Body Type คลิกที่นี้) 2. วอร์มอัพ และ คูลดาวน์           การวอร์มอัพ และ คูลดาวน์นั้นเป็นสิ่งสำคัญมากในการฝึกที่หลายๆคนมองข้ามไป ร่างกายจะพัฒนาได้ลำบากถ้าขาดการวอร์มอัพที่ดีและอาจเกิดการบาดเจ็บในหลายๆอย่างได้อีกด้วย และร่างกายจะฟื้นตัวได้ไวขึ้นเพื่อเตรียมพร้อมกับการฝึกครั้งต่อไปโดยการคูลดาวน์ การวอร์มอัพ เช่น ยืดกล้ามเนื้อแบบมีการเคลื่อนไหว หรือทำกิจกรรมทางกายที่มีการเคลื่อนไหวหลายข้อต่อเพื่อค่อยๆเพิ่มอุณหภูมิของร่างกาย,ความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ,เส้นเอ็นและ อัตราการเต้นของหัวใจก่อนการฝึก การคูลดาวน์ …

10 ปัจจัย เพิ่มกล้ามเนื้อ และ พัฒนาการของกล้ามเนื้อ Read More »

hp2max body type

ประเภทของรูปร่าง ( Body Type )

Body Type หรือ ประเภทของรูปร่าง ก่อนที่เรานั้นจะเริ่มออกกำลังกายหรืออยากปรับเปลี่ยนรูปร่างของตัวเองจำเป็นที่จะต้องรู้ประเภทรูปร่างของตัวเองเสียก่อน ซึ่ง ประเภทของรูปร่าง นั้นหลักๆจะแบ่งออกเป็น 3 ประเภทด้วยกัน และแต่ละประเภทนั้นจะมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไป ด้วยเหตุนี้จะเป็นการดีถ้าเรารู้ว่าประเภทรูปร่างของร่างกายเราอยุ่ที่ประเภทใด เพื่อให้การออกกำลังกายและการดูแลรูปร่างได้ง่ายหรือดียิ่งขึ้น ประเภทของรูปร่าง ( Body Type ) มี 3 ประเภท 1. เอกโตมอร์ฟ (Ectomorph) ลักษณะของคนประเภทนี้คือ โครงกระดูกเล็ก ผอม เพรียว ช่วงไหล่แคบ หน้าอกแบน สะโพกเล็ก ไขมันใต้ผิวหนังในร่างกายมีน้อยมาก กล้ามเนื้อมีน้อย และมีลักษณะบาง การเผาพลาญพลังงานดีมาก ( Metabolism ) ทานเท่าไหร่ก็ไม่อ้วนหรืออ้วนยาก แต่จะย้วย เล่นเวท เพิ่มกล้ามเนื้อได้ยาก แต่ถ้าเลิกเล่นเวท หุ่นก็จะกลับมาผอมแห้งเหมือนเดิมได้ง่าย การออกกำลังกายของคนประเภท เอกโตมอร์ฟ (Ectomorph) โครงสร้างประเภทนี้ควรออกกำลังกายในโปรแกรมที่ มีความหนักที่สูง แต่ใช้เวลาที่สั้น  หรืออาจจะฝึกในรูปแบบของ Hypertrophy Training หรือ Strength …

ประเภทของรูปร่าง ( Body Type ) Read More »

ออกกำลังกายที่บ้าน

ออกกำลังกายที่บ้าน กับ 2 ท่า Body Weight

การ ออกกำลังกายที่บ้าน นั้นไม่จำเป็นต้องมีอุปกรณ์ก็สามารถออกกำลังกายได้เช่นกัน ขอเพียงแค่มีพื้นที่เล็กน้อยๆก็พอ ใช้เพียงแค่น้ำหนักจากร่างกายตัวเอง (Body Weight) ก็ทำให้รักษาหุ่นรูปร่างหรืออาจจะพัฒนาไปอีกขั้นหนึ่งเลยก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสม่ำเสมอในการฝึก ซึ่งท่าที่ใช้ออกกำลังกายที่มาจาก Body Weight นั้นมีมากมายหลายท่าและขึ้นอยู่กับการประยุกต์ของแต่ละคนด้วย แต่ในวันนี้ทางเราจะนำ 2 ท่า body weight มานำเสนอ และเป็นท่าที่ไม่มี แรงกระแทก ดังนั้นคนที่มีปัญหาในเรื่องข้อต่อ รวมถึงคนที่ไม่สามารถกระโดด หรือหมอสั่งห้ามวิ่ง และคนที่ไม่สามารถทำกิจกรรมที่มีแรงกระแทกได้ สามารถฝึกและออกกำลังกายตามนี้ได้อย่างแน่นอน ที่สำคัญก็คือเล่นได้ทั้งชายและหญิง 1. ท่า SQUATS ท่าออกกำลังกาย สควอช (SQUATS) เป็นช่วงล่างของร่างกาย ท่านี้จะมีการเซ็ตอัพท่าที่มากมาย ทั้งยืนเท้าชิด , เท้ากว้าง , เท้ากว้างกว่าช่วงไหล่ หรือยืนขาเดียวและอื่นๆอีกเพียบ แต่วันนี้ผมจะแนะนำถ้ายืน สควอชแบบ wide stance squat คือการยืนกว้างกว่าช่วงไหล่เล็กน้อย ท่านี้จะมีข้อต่อที่ใช้ในการเคลื่อนไหวหลักๆอยู่ที่ 3 ข้อต่อนั้นคือ สะโพก , เข่า และข้อเท้า ดังตัวอย่างวิธีทำดังนี้ …

ออกกำลังกายที่บ้าน กับ 2 ท่า Body Weight Read More »

namset

สอนท่าออกกำลังกายโดยใช้ NAMSET

          NAMSET เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการพรีเซนต์หรือนำเสนอท่าทางการออกกำลังกายต่างๆที่เทรนเนอร์นิยมนำมาใช้หรือพรีเซนต์แก่ลูกค้า ซึ่งความรู้และเครื่องมือดังกล่าวนี้ผมจะนำมาแบ่งปันให้กับเพื่อนๆที่ติดตามบทความของเรา เพื่อนำความรู้นี้ไปปรับใช้กับการออกกำลังกาย  NAMSET ย่อมาจากอะไร N = Name of the exercise  A = Area of the body worked  M = Muscles used  S = Silent demonstration  E = Explanation of the exercise  T = Teaching of the exercise            ผมจะขออธิบายเพิ่มเติมและยกตัวอย่างเป็นข้อๆจากท่าออกกำลังกาย Chest Press (ตามภาพประกอบ) ดังนี้ N …

สอนท่าออกกำลังกายโดยใช้ NAMSET Read More »

อัตราการเต้นของหัวใจ

การคำนวณหาอัตราการเต้นของหัวใจ

          การคำนวณหา อัตราการเต้นของหัวใจ (Heart Rate : HR) นั้นเป็นสิ่งที่สำคัญมากไม่ว่าจะออกกำลังกายหรือการใช้ชีวิตประจำวันเพราะทุกกิจกรรมทางกายนั้นหัวใจทำงานตลอดเวลาแม้กระทั่งการหลับพักผ่อน ดังนั้นเราควรรู้ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับเรื่องของหัวใจเช่นอัตราการเต้นของหัวใจสูงสุดของเราอยู่ที่เท่าไหร่ หรือมีเป้าหมายให้หัวใจเต้นอยู่ที่กี่เปอร์เซ็นต์ของอัตราการเต้นของหัวใจสูงสุดขณะออกกำลังกายแล้วจะคำนวณออกมาอย่างไรนั้นเรามาเรียนรู้ไปพร้อมๆกันดังนี้ การคำนวณหา อัตราการเต้นของหัวใจ สูงสุด            อัตราการเต้นของหัวใจสูงสุด (Maximum Heart Rate : MHR) จะเป็นอันตรายอย่างยิ่งถ้าเรานั้นไม่รู้ว่า MHR ของเรานั้นอยู่ที่เท่าไหร่และสูตรการคำนวณหา MHR ก็มีมากมายและถูกอัพเดตตามงานวิจัยอยู่เรื่อยๆ ซึ่งวันนี้ผมจะนำสูตรที่ได้รับความนิยมคำนวณได้ง่ายแต่อาจจะมีความคลาดเคลื่อน 5-10 bpm  สูตรการคำนวณหา MHR นำ 220 – อายุ = MHR (หน่วยเป็น bpm | ครั้งต่อนาที)จากสูตร 220 มาจากอัตราการเต้นของหัวใจจากเด็กแรกเกิด เช่น 220 – 30ปี = …

การคำนวณหาอัตราการเต้นของหัวใจ Read More »

การออกกำลังกายตามหลักFITT

การออกกำลังกายตามหลัก FITT

เป้าหมายในการออกกำลังกายของแต่ละคนหรือแต่ละวันนั้นก็จะแตกต่างกันออกไปไม่ว่าจะออกกำลังกายเพื่อสุขภาพหรือออกกำลังกายเพื่อเพิ่มสมรรถภาพทางกายต่างๆให้เป็นไปในทิศทางที่ต้องการ ซึ่งในบางคนยังไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นหรือออกแบบโปรแกรมการฝึกในเบื้องต้นให้กับตัวเองอย่างไร วันนี้ hp2max มีเทคนิคง่ายๆในการวางแผนการออกกกำลังกายโดยใช้หลัก “FITT” ซึ่งจะประกอบไปด้วย F = Frequency I = Intensity T = Time T = type F = Frequency (ความถี่ในการออกกำลังกาย) การออกกำลังกายที่ดีนั้นจุดเริ่มต้นอยู่ที่ความถี่หรือความสม่ำเสมอซึ่งจะก่อให้เกิดวินัยการออกกำลังกาย ถ้าทุกคนทำในข้อนี้ได้ทุกอย่างที่เป็นผลดีก็จะตามมาด้วย จากหลายๆบทความหรือในกลุ่มคนส่วนใหญ่ทราบอยู่แล้วว่าเราควรออกกำลังกายอย่างน้อย 3 วันต่อสัปดาห์ ในความเป็นจริงบางกลุ่มก็สามารถควบคุมความถี่ตรงนี้ได้และก็มีบางกลุ่มที่ไม่สามารถความคุมความถี่แบบนี้ได้เช่นกันแต่ไม่ใช่ขาดความถี่จากอาการขี้เกียจหรือขาดวินัย ดังนั้นผมจะขอแนะนำง่ายๆว่าให้ทุกๆท่านออกกำลังกายเท่าที่ออกได้แต่ขอให้มีความสม่ำเสมอให้มากที่สุดก็พอเพราะแต่ละคนสภาพร่างกายกับภาระหน้าที่ไม่เหมือนกัน I = Intensity (ความหนักในการออกกำลังกาย) เรื่องของความหนักในการออกกำลังกายก็เป็นเรื่องสำคัญเช่นกันแต่ก็ขึ้นอยู่กับเป้าหมายในการฝึกว่าจะฝึกไปเพื่ออะไรซึ่งแต่ละคนนั้นจะมีเป้าหมายในการฝึกที่แตกต่างกันออกไปเช่น ต้องการฝึกเพื่อพัฒนาระบบไหลเวียนโลหิตจึงต้องควบคุมอัตราการเต้นของหัวใจให้อยู่ในช่วง 70-80% ของอัตราการเต้นของหัวใจสูงสุด T = Time (ระยะเวลาในการออกกำลังกาย) ระยะเวลาในการออกกำลังกายนั้นเป็นอะไรที่ควบคุมได้ยากด้วยมีปัจจัยหลายๆอย่างเป็นตัวประกอบ ทั้งงาน ทั้งครอบครัว ธุระหรือกิจกรรมต่างๆในการใช้ชีวิตจึงทำให้เวลาในการฝึกของแต่ละคนนั้นไม่เท่ากัน ดังนั้นผมจึงแนะนำว่า “จงฝึกเท่าที่ฝึกได้แต่ช่วงเวลาในการฝึกนั้นต้องเน้นคุณภาพและความเข้มข้นที่สูง” ตามที่กล่าวถ้าทุกท่านมีเวลาฝึกหรือออกกำลังกายน้อยแต่มีความเข้มข้นในการฝึกที่สูง 15-30 นาทีก็สามารถออกกำลังได้ ถ้าคนที่สามารถควบคุมหรือมีเวลาในการฝึกแนะนำ 60-90 นาทีเวลาประมาณนี้ก็ถือว่ากำลังดีเลย T …

การออกกำลังกายตามหลัก FITT Read More »

สมรรถภาพทางกาย

สมรรถภาพทางกาย

          บทความนี้น่าจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งกับกลุ่มคนที่สนใจจะดูแลและอยากทำความเข้าใจในเรื่องของสุขภาพรวมถึงกิจกรรมทางกายการใช้ชีวิตประจำวันหรือการคิดโปรแกรมการออกกำลังกายนั้นล้วนแต่ต้องมีความรู้และความเข้าใจพื้นฐานของสมรรถภาพทางกายก่อนว่าสมรรถภาพทางกายหรือทางกลไกนั้นประกอบไปดด้วยอะไรบ่างแล้วนำความรู้เหล่านี้ที่ได้ไปปรับใช้กับการออกแบบตารางการฝึกหรือการพัฒนากิจกรรมทางกายในชีวิตประจำวันได้ จริงๆแล้วคำว่าสมรรถภาพทางกายและสมรรถภาพทางกลไกนั้นความหมายค่อนข้างจะละเอียดและเข้าใจยากแต่ผมจะพยายามอธิบายความหมายเบื่องต้นแบบสั้นให้เข้าใจง่ายๆเพื่อนำไปต่อยอดกับความรู้อื่นๆดังนี้ สมรรถภาพทางกายหมายถึง           สมรรถภาพทางกาย (Physical Fitness) คือความสามารถของระบบต่างๆของร่างกายในการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล บุคคลที่มีสมรรถภาพทางกายที่ดีนั้นจะสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างกระฉับกระเฉงโดยไม่เหนื่อยล้าจนเกินไปและยังมีพลังงานสำรองมากพอสำหรับกิจกรรมนันทนาการหรือกรณีฉุกเฉินต่างๆ สมรรถภาพทางกายเพื่อสุขภาพ (Health – Related Physical Fitness) องค์ประกอบของร่างกาย (Body Composition) ในร่างกายของมนุษย์จะประกอบไปด้วยกล้ามเนื้อ กระดูก ไขมันและอื่นๆอีกมากมาย ความอดทนของระบบไหลเวียนโลหิต (Cardio Respiratory Endurance) สมรรถนะของระบบไหลเวียนเลือดและระบบหายใจในการลำเลียงออกซิเจนไปยังเซลล์กล้ามเนื้อทำให้ร่างกายสามารถยืนหยัดที่จะทำงานหรือออกกำลังกายที่ใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่เป็นระยะยาวนานได้ ความอ่อนตัว (Flexibility) คือการเคลื่อนไหวสูงสุดเท่าที่ทำได้ของกล้ามเนื้อ ข้อกลุ่มหรือกลุ่มข้อต่อ ความอดทนของกล้ามเนื้อ (Muscular Endurance) ความสามารถของกล้ามเนื้อมัดใดมัดหนึ่งหรือกลุ่มกล้ามเนื้อในการหดตัวซ้ำๆ หรือความสามารถในการคงสภาพการหดตัวครั้งเดียวได้เป็นระยะเวลาที่ยาวนาน ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ (Muscular Strength) คือปริมาณสูงสุดของแรงที่กล้ามเนื้อสามารถออกแรงต้านได้ในช่วงการหดตัว 1 ครั้ง สมรรถภาพทางกลไก (Mortor Fitness) หรือ สมรรถภาพเชิงทักษะปฏิบัติ …

สมรรถภาพทางกาย Read More »