NAMSET เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการพรีเซนต์หรือนำเสนอท่าทางการออกกำลังกายต่างๆที่เทรนเนอร์นิยมนำมาใช้หรือพรีเซนต์แก่ลูกค้า ซึ่งความรู้และเครื่องมือดังกล่าวนี้ผมจะนำมาแบ่งปันให้กับเพื่อนๆที่ติดตามบทความของเรา เพื่อนำความรู้นี้ไปปรับใช้กับการออกกำลังกาย
NAMSET ย่อมาจากอะไร
- N = Name of the exercise
- A = Area of the body worked
- M = Muscles used
- S = Silent demonstration
- E = Explanation of the exercise
- T = Teaching of the exercise
ผมจะขออธิบายเพิ่มเติมและยกตัวอย่างเป็นข้อๆจากท่าออกกำลังกาย Chest Press (ตามภาพประกอบ) ดังนี้
N = Name of the exercise (ชื่อท่าออกกำลังกาย)
- ท่า Chest Press
A = Area of the body worked (บริเวณร่างกายที่ทำงาน)
- บริเวณที่ร่างกายทำงานคือ กล้ามเนื้อส่วนบน (Upper Body)
M = Muscles used (กล้ามเนื้อที่ใช้งาน)
- กล้ามเนื้อที่ทำงาน
มัดหลัก หน้าอก (Pectoralis Major)
มัดรอง ไหล่หน้า (Anterior Deltoid) และ ต้นแขนด้านหลัง (Triceps Brachii)
S = Silent demonstration (การสาธิตหรือทำให้ดู)
- ในหัวข้อนี้ให้เทรนเนอร์หรือคนที่กำลังทำการแนะนำ ทำท่าออกกำลังกายให้ดู
E = Explanation of the exercise (การอธิบายท่าทางการออกกำลังกาย)
- อธิบายท่าทางออกกำลังกาย มุมในการเคลื่อนไหว และพูดถึงความปลอดภัย เทคนิคต่างๆของท่านั้นๆ
T = Teaching of the exercise (การสอนท่าออกกำลังกาย)
- สอนและบอกว่า เล่นกี่ครั้ง (Repetition : Rep) , กี่เซ็ต , จังหวะในการเล่น (Tempo)
ตัวอย่างบทสนทนา NAMSET
เพื่อให้มีความเข้าใจและนำไปใช้งานได้ง่ายยิ่งขึ้นผมจะนำเนื้อหาจากหัวข้อทั้งหมดที่ได้กล่าวไว้มาเรียบเรียงเป็นบทสนทนาง่ายๆดังนี้ “สวัสดีครับคุณ…….. ผมชื่อ…….. วันนี้ผมจะมาแนะนำท่าออกกำลังกาย Chest Press ซึ่งท่านี้จะเป็นการฝึกร่างกายส่วนบน (Upper Body) และกล้ามเนื้อที่ทำงานมัดหลักจะเป็น หน้าอก (Pectoralis Major) มัดรองจะเป็นไหล่หน้าและต้นแขนด้านหลัง (Anterior Deltoid and Triceps Brachii) หลังจากนั้นให้ผู้ที่ทำการนำเสนอทำท่าให้ดู พอทำท่าให้ดูเสร็จแล้วให้อธิบายต่อเช่น นอนหงายอยู่ในท่าเซ็ตอัพจับบาร์แขนเหยียดตรงแล้วให้ดึงศอกลงมา บาร์อยู่ที่ราวนม จับบาร์ให้แน่นระวังหลุดมือ ขณะเล่นอย่ากระตุกอย่ากระชากเพื่อความปลอดภัยของข้อศอกและหัวไหล่ ให้เล่น 12 ครั้ง 5 เซ็ต จังหวะในการเล่นอยู่ที่ กล้ามเนื้อยืดตัว (Eccentric) 2 วินาที กล้ามเนื้อหดตัว (Concentric) 2 วินาที”
ผมหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่รักการออกกำลังกายทุกท่าน แต่ถ้าทุกท่านนั้นฝึกและใช้หลักการดังกล่าวจนชำนาญแล้วก็จะสามารถพูดพรีเซนต์หรือนำเสนอได้ออกมาอย่างเป็นธรรมชาติมากยิ่งขึ้น