สุขภาพ กับการนอนนั้นมีผลเกี่ยวเนื่องกันอย่างชัดเจน ซึ่งเป็นที่รู้กันอยู่แล้วว่าการนอนหลับพักผ่อนนั้นจะทำให้สุขภาพแข็งแรงขึ้น และในทางตรงกันข้ามถ้าเรานอนพักผ่อนน้อยหรือไม่ได้นอนหลับพักผ่อนเลยร่างจะก็จะทรุดโทรมหรือมีอาจจะส่งผลในการใช้ชีวิตประจำวันโดยตรง ดังนั้นวันนี้เราจะมาพูดถึงสุขภาพกายและสุขภาพจิตของอาการคนที่ นอนหลับไม่เพียงพอ เพราะหลายๆคนอาจจะมองข้ามในข้อนี้โดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่นที่ส่วนใหญ่จะกินเที่ยวเล่นจนไม่มีการพักผ่อน และคนวัยทำงานที่บางทีอาจจะโหมงานจนหนักมากเกิน
สุขภาพ ทางกาย
การนอนน้อยหรือพักผ่อนไม่เพียงพอก็จะทำให้ สุขภาพของร่างกาย หรือ สมรรถภาพทางกาย นั้นถดถอยอย่างเห็นได้ชัดยิ่งอายุมากก็จะเห็นผลได้ชัดเจนมากขึ้นไปอีก แล้วร่างกายก็จะเกิดอาการผิดปกติต่างๆ ซึ่งจะยกตัวอย่างของอาการดังกล่าวมาดังนี้
- ความทรงจำที่ลดลงหรือทำงานได้ไม่ดี
- การประสานงานระหว่างระบบประสาทกล้ามเนื้อลดลง
- ระบบย่อยอาหารผิดปกติ
- วิงเวียนศีรษะหรือหน้ามืดบ่อย
- ระบบภูมิคุ้มกันต่ำลง
- เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ
- ร่างกายและกล้ามเนื้อไม่ฟื้นตัวหรือฟื้นตัวช้า จากกิจกรรมต่างๆในการใช้ชีวิต
- มีปัญหาเรื่องระบบหลอดเลือดและไหลเวียนโลหิต
- ภาวะโรคแทรกซ้อนต่างๆ เช่นเบาหวาน ความดันเป็นต้น
นี้เป็นแค่ส่วนหนึ่งของอาการผิดปกติของร่างกายหรือการเสื่อมสภาพของสมรรถภาพทางกายและสุขภาพ ยังไม่รวมปัญหาแทรกซ้อนต่างๆอีกมากที่จะเกิดขึ้นถ้าหากเพื่อนๆ นอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ
สุขภาพ ทางจิต
การนอนหลับพักผ่อนน้อย นั้นไม่เพียงแต่จะทำให้สุขภาพทางกายลดต่ำลงแล้ว แต่ยังส่งผลต่อความแข็งแรงต่อภาพจิตใจของแต่ละคนด้วย ร่างกายที่มีความตึงเครียดจากการใช้ชีวิต ไม่ได้รับการพักผ่อนหรือการฟื้นตัวก็จะส่งผลมาถึงสภาพจิตใจ และสภาะจิตใจนี้เองก็จะส่งผลต่อการใช้ชีวิตโดยตรงเช่น
- ทนและรับต่อสภาวะกดดันได้ไม่ดีเท่าที่ควร
- อารมณ์แปรปรวน
- สติหลุดง่ายเหม่อลอยบ่อย ฯลฯ
ควร นอนเวลาไหน ???
จริงๆแล้วการนอนหลับพักผ่อนนั้นเราจะนอนเวลาไหนก็ได้ เพราะแต่ละคนนั้นมีการใช้ชีวิต การทำงาน และรับผิดชอบในส่วนอื่นๆ ในช่วงเวลาที่แตกต่างกัน ขอเพียงแค่ช่วงเวลาที่เรานอนหลับพักผ่อนนั้นเป็นเวลาที่เหมือนเดิมหรือใกล้เคียงกันทุกครั้ง หรือพูดง่ายๆก็คือนอนให้ตรงเวลาแต่ช่วงเวลาไหนก็ขึ้นอยู่กับ นาฬิกาชีวิตของแต่ละคน
นอนวันละกี่ชั่วโมง
- เด็กแรกเกิด (อายุ 0-3 เดือน) ควรนอน 14-17 ชั่วโมงต่อวัน
- เด็กทารก (อายุ 4-11เดือน) ควรนอน 12-15 ชั่วโมง
- เด็ก (อายุ 1-2 ปี) ควรนอน 11-14 ชั่วโมง
- วัยอนุบาล (3-5 ปี) ควรนอน 10-13 ชั่วโมง
- วัยประถม (6-13 ปี) ควรนอน 9-11 ชั่วโมง
- วัยมัธยม (14-17 ปี) ควรนอน 8-10 ชั่วโมง
- วัยรุ่น (18-25 ปี) ควรนอน 7-9 ชั่วโมง
- วัยทำงาน (26-64 ปี) ควรนอน 7-9 ชั่วโมง เท่ากับตอนวัยรุ่น
- วัยชรา (65 ปีขึ้นไป) ควรนอน 7-8 ชั่วโมง